google-site-verification: googlee613b6b5df1f4f78.html
Last updated: 25 มิ.ย. 2564 | 10610 จำนวนผู้เข้าชม |
หนังสือประทับตรา ใช้แทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการ ระดับหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการชั้นผู้บังคับการกรมหรือเทียบเท่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อกำกับตราให้ใช้กระดาษตราครุฑ
ตราส่วนราชการ สำหรับหนังสือประทับตรา สี ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการด้วยหมึกสีแดง และให้ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อกำกับตราตราชื่อส่วนราชการกองทัพบก มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกันเส้นผ่าศูนย์กลาง วงนอก๔.๕ เซนติเมตร วงใน ๓.๕ เซนติเมตร ล้อมครุฑ ขนาดตัวครุฑสูง ๓ เซนติเมตร ระหว่างวงนอกและวงในมีอักษรไทยชื่อส่วนราชการอยู่ขอบล่างของตราครุฑส่วนราชการใดที่มีการติดต่อกับต่างประเทศ จะให้มีชื่อต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้โดยให้อักษรไทยอยู่ขอบบนและอักษรโรมันอยู่ขอบล่างของตราครุฑ
หนังสือสั่งการ คืออะไรบ้าง หนังสือสั่งการ มี ๓ ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติ โดยชอบด้วย
กฎหมาย ให้ใช้กระดาษตราครุฑ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
คำสั่งทั่วไปเป็นคำสั่ง ที่ให้ส่วนราชการหรือหน่วย
ผู้ใต้บังคับบัญชาทั่วไปปฏิบัติและทราบโดยทั่วกัน
คำสั่งเฉพาะ เป็นคำสั่งที่ให้ส่วนราชการหรือหน่วยหรือ
ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะปฏิบัติ
ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติงาน
เป็นการประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
ข้อบังคับ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้ โดยอาศัยอำนาจ
ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ให้กระทำได้ กระทรวงกลาโหมเป็นส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ
หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่ หนังสือประชาสัมพันธ์ มี ๓ ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และ ข่าว
ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือ
แนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ
ในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีอื่นใด ให้ทราบอย่างชัดเจนโดยทั่วกัน โดยกองทัพบกเป็นส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์ ใช้กระดาษตราครุฑ
ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
21.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น/รับไว้เป็นหลักฐาน มี 4 ชนิด คือ
1.หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคลนิติบุคคล
หรือหน่วยงานเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไป ไม่ จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
2.รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม
และมติของที่ประชุม ที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
3.บันทึก คือ บรรดาข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือ
ผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือส่วนราชการ ในกองทัพบกติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติใช้กระดาษบันทึกข้อความ
4 หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ และสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว มีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรม กำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้จัดทาตามรูปแบบที่กำหนด เช่น โฉนด แผนที่ แบบ แผนผัง สัญญา หลักฐาน
สื่อกลางบันทึกข้อมูล หมายความถึง สื่อใด ๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้
ด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดีอ่านอย่างเดียวหรือแผ่นดิจิทัลอเนกประสงค์ เป็นต้น
หนังสือที่ต้องปฏิบัติเร็วกว่าปกติ มี 3 ชนิด คือ
1.ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น
2.ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
3.ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดง ตัวหนา ตัวพิมพ์ขนาด ๓๒ พอยท์ ในกรณีจำเป็นให้มีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถใช้รูปแบบตัวพิมพ์ขนาดตัวอักษรได้ไม่เกิน ๔๐ พอยท์ ให้เห็นได้ชัดบน หนังสือและซอง
31 พ.ค. 2564
24 ก.ย. 2564